หากคุณสงสัยว่าบรรดาคริปโทเคอร์เรนซี หรือ NFT ในรูปแบบต่าง ๆ ที่นิยมซื้อขายกันในปัจจุบันนั้นคืออะไร เราก็สามารถบอกได้ว่ามันคือสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset) ที่ถือว่าเป็น สินทรัพย์ในรูปแบบดิจิทัลที่มีมูลค่า สามารถซื้อขาย แลกเปลี่ยน หรือเป็นเจ้าของได้เช่นเดียวกับสินทรัพย์ทั่วไป แต่มีข้อแตกต่างคือ สินทรัพย์ดิจิทัลจะถูกบันทึกข้อมูลไว้บนบล็อกเชน ทำให้มีความปลอดภัย โปร่งใส และตรวจสอบได้
ตัวอย่างสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับความนิยม:
สินทรัพย์ดิจิทัล (Cryptocurrency) เช่น Bitcoin, Ethereum, KUB coin
โทเคนดิจิทัล (Digital Token) เช่น NFT (Non-Fungible Token)
สินทรัพย์ดิจิทัลอื่น ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นบนบล็อกเชน
บล็อกเชนกับสินทรัพย์ดิจิทัล สองอย่างนี้แตกต่างกันอย่างไร
เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) มีบทบาทสำคัญต่อสินทรัพย์ดิจิทัล โดยทำหน้าที่เป็นเหมือน “สมุดบัญชีสาธารณะ” ที่บันทึกทุกข้อมูลการทำธุรกรรมต่าง ๆ ทำให้มีความโปร่งใส ปลอดภัย และตรวจสอบได้ ทั้งนี้ สินทรัพย์ดิจิทัลมีทั้งข้อดีและข้อควรระวัง ไม่ว่าจะเป็น
ข้อดีของสินทรัพย์ดิจิทัล
มูลค่าของสินทรัพย์ดิจิทัลมีโอกาสเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยสามารถเพิ่มโอกาสในการสร้าง Capital Gain ได้
สินทรัพย์ดิจิทัลมีสภาพคล่องสูง โดยสามารถซื้อขาย แลกเปลี่ยนได้ง่าย ผ่านศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล
ความปลอดภัย โดยเทคโนโลยีบล็อกเชนช่วยเพิ่มความปลอดภัย ลดความเสี่ยงจากการปลอมแปลง
ด้านการเข้าถึง โดยเปิดโอกาสให้ผู้คนครอบครองทรัพย์สินได้มากขึ้น
ข้อควรระวัง
ความผันผวน โดยราคาสินทรัพย์ดิจิทัลมีความผันผวนสูง อาจมีความเสี่ยงในการขาดทุน
ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย แม้เทคโนโลยีบล็อกเชนจะขึ้นชื่อเรื่องความปลอดภัย แต่ยังคงมีความเสี่ยงในด้านการถูกแฮ็กอยู่บ้าง
สินทรัพย์ดิจิทัลมีอะไรบ้าง
ในปัจจุบันนั้นเราสามารถพบเห็นสินทรัพย์ดิจิทัลได้หลากหลายประเภท แบ่งง่าย ๆ ตาม พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัล ได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency)
คริปโทเคอร์เรนซี คือหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นบนระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ มีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า บริการ หรือสิทธิ์ต่าง ๆ หรือแลกเปลี่ยนระหว่างสินทรัพย์ดิจิทัลด้วยกันเอง
ตัวอย่างที่รู้จักกันดีเช่น Bitcoin (BTC), Ethereum (ETH), Litecoin (LTC), Ripple (XRP)
นอกจากนี้ ยังมีเหรียญ Stablecoin ที่ผูกมูลค่ากับสินทรัพย์อื่น เช่น เงินดอลลาร์สหรัฐฯ เช่น Tether (USDT) และ USD Coin (USDC)
2. โทเคนดิจิทัล (Digital Token)
โทเคนดิจิทัล คือหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นบนระบบ Blockchain เพื่อใช้แทนสิทธิ์ในสินค้า บริการ หรือสิทธิ์ในการลงทุนในโครงการต่าง ๆ
โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ
Investment Token: โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน เปรียบเสมือน “หลักทรัพย์” ในโลกดิจิทัล ผู้ถือโทเคนมีสิทธิ์ได้รับส่วนแบ่งกำไร เงินปันผล หรือสิทธิ์ในการออกเสียง ตัวอย่างเช่น หุ้นกู้ หรือ ตราสารหนี้ ที่แปลงเป็นโทเคนดิจิทัล
Utility Token: โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ ผู้ถือโทเคนมีสิทธิ์ใช้บริการบนแพลตฟอร์ม หรือใช้สินค้าและบริการต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น โทเคนสำหรับใช้เล่นเกม ซื้อขายไอเทมในเกม หรือใช้สิทธิ์ในการเข้าถึงบริการพิเศษต่าง ๆ
นอกจากนี้ ยังมีสินทรัพย์ดิจิทัลรูปแบบอื่นๆ ที่น่าสนใจอีก เช่น
โทเคนดิจิทัลที่ไม่สามารถทดแทนได้ (Non-Fungible Token: NFT) เป็นโทเคนดิจิทัลที่มีลักษณะเฉพาะตัว ไม่สามารถแทนที่กันได้ นิยมใช้ในการแสดงความเป็นเจ้าของสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น งานศิลปะ เพลง วิดีโอ ไอเทมในเกม
Central Bank Digital Currency (CBDC) หรือ สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง ซึ่งหลายประเทศกำลังศึกษาและพัฒนา เช่น จีน สวีเดน สิงคโปร์ นอกจากนี้ ยังมีเงินบาทดิจิทัล หรือ Retail CBDC เป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ลักษณะคล้ายเงินสดแต่ไม่มีรูปร่าง ใช้งานง่าย ปลอดภัย และมีสินทรัพย์ภาครัฐหนุนหลัง ไม่ต้องกลัวผันผวนเหมือนคริปโทเคอร์เรนซี เป็นทางเลือกใหม่นอกจากเงินสด, เงินฝาก E-Money และ Mobile Banking ทำให้ช่วยลดต้นทุนการจัดการเงินสด และเป็นพื้นฐานสำหรับนวัตกรรมทางการเงินใหม่ ๆ นอกจากนี้ หลายประเทศก็กำลังพัฒนา CBDC เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบการชำระเงิน เงินบาทดิจิทัลจะช่วยยกระดับระบบการเงินไทย รองรับเศรษฐกิจดิจิทัล และเพิ่มประสิทธิภาพนโยบายภาครัฐ ถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินของประเทศไทย เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับอนาคต (อ้างอิงจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย)
ประเภทสินทรัพย์ดิจิทัลบน Bitkub NEXT มีอะไรบ้าง
Bitkub NEXT คือกระเป๋าเก็บสินทรัพย์ดิจิทัล ที่ได้รับการออกแบบเพื่อรองรับการทำธุรกรรมและการจัดเก็บสินทรัพย์ดิจิทัลบน Bitkub Chain
ในปัจจุบัน ผู้ใช้งานสามารถใช้ Bitkub NEXT ในการสะสม NFT และเก็บสินทรัพย์ดิจิทัลที่ทำงานบนมาตรฐาน KAP-20 และ KAP-721 อาทิ โทเคนและ NFT ที่ทำงานอยู่บนระบบนิเวศ Bitkub Chain รวมถึงการเก็บเหรียญ KUB
เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น สินทรัพย์ดิจิทัลบน Bitkub NEXT จะแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
โทเคนดิจิทัล (Digital Token) เช่น USDT Kub (KUSDT), USDT Kub (KUSDT), Bitcoin Kub (KBTC), และ Ethereum Kub (KETH)
Non-Fungible Token (NFT) เช่น NFT ในเกม Morning Moon Village, NFT ใน Bitkub Metaverse และอื่น ๆ
ทั้งนี้ Bitkub NEXT อยู่ระหว่างการพัฒนาฟังก์ชันการทำงานเพิ่มเติม เช่น การรองรับการใช้งานที่กว้างขวางมากขึ้น เพื่อให้การใช้งานมีความโดดเด่น ปลอดภัย และโปร่งใส โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีบล็อกเชน ที่ออกแบบให้ใช้งานง่าย เหมาะสำหรับผู้ใช้งานทุกประเภท
เริ่มต้นเป็นเจ้าของ Digital Asset บน Bitkub NEXT
Bitkub NEXT คือ กระเป๋าสินทรัพย์ดิจิทัลชั้นนำของไทย พัฒนาโดย บริษัท บิทคับ บล็อคเชน เทคโนโลยี จำกัด มีความปลอดภัย ใช้งานง่าย และมีสินทรัพย์ดิจิทัลให้เลือกครอบครองอย่างหลากหลาย
โดยคุณสามารถเปิดบัญชี Bitkub NEXT ง่าย ๆ จากที่ไหนก็ได้ เพียงแค่มีเบอร์มือถือในไม่กี่ขั้นตอน
เข้าสู่หน้าเว็บไซต์ app.bitkubnext.com และกดปุ่มลงทะเบียนด้วยเบอร์โทรศัพท์มือถือ
ระบุเบอร์โทรศัพท์มือถือ (รองรับเฉพาะเบอร์โทรศัพท์ในประเทศไทยเท่านั้น (+66)
อ่านเงื่อนไขและข้อตกลงในการใช้งาน จากนั้นกดปุ่ม “ยอมรับ”
อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จากนั้นกดปุ่ม “ยอมรับ”
กดปุ่ม “ขอรหัสยืนยัน” และกรอกรหัส OTP จากนั้นกดปุ่ม “ยืนยัน”
ตั้งข้อมูลความเป็นส่วนตัวด้วย PIN 6 หลัก
ยินดีด้วย! บัญชี Bitkub NEXT ของคุณลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว
สรุป
Bitkub NEXT เป็นกระเป๋าสินทรัพย์ดิจิทัลที่รองรับการทำธุรกรรมและจัดเก็บสินทรัพย์ดิจิทัลบน Bitkub Chain ปัจจุบันสามารถใช้ Bitkub NEXT สะสม NFT และเก็บสินทรัพย์ดิจิทัลที่ทำงานบนมาตรฐาน KAP-20 และ KAP-721 ตัวอย่างเช่น โทเคนและ NFT บน Bitkub Chain และเหรียญ KUB
เริ่มต้นเป็นเจ้าของสินทรัพย์ดิจิทัลบน Bitkub NEXT ได้ง่าย ๆ เพียงเปิดบัญชีผ่านเว็บไซต์ app.bitkubnext.com โดยลงทะเบียนด้วยเบอร์มือถือ อ่านเงื่อนไขและนโยบายฯ กดยอมรับ กรอกรหัส OTP และตั้ง PIN 6 หลัก ก็สามารถใช้งาน Bitkub NEXT ได้ทันที
คำเตือนความเสี่ยง:
สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
Bitkub NEXT เป็นผู้ให้บริการ Non-Custodial Wallet ที่ไม่ใช่ผู้ประกอบธุรกิจภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน ก.ล.ต.
ข้อมูลอ้างอิงจาก: